ถาม&ตอบ กับ พญ.ทัศน์พรรณ ศรีทองกุล
พญ.ทัศน์พรรณ ศรีทองกุล
อายุรแพทย์โรคไต โรงพยาบาลศิริราช
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไต และมีประการณ์การบำบำดทดแทนไตมากว่า 10 ปี
Questions to Ask Your Nephrologist
Questions to Ask Your Nephrologistถาม&ตอบ กับ นพ.กมล โฆษิตรังสิกุล
ถาม&ตอบ กับ พญ.ปิยะธิดา จึงสมาน
ถาม&ตอบ กับ พญ.ทัศน์พรรณ ศรีทองกุล
อายุรแพทย์โรคไต โรงพยาบาลศิริราช
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคไต และมีประการณ์การบำบำดทดแทนไตมากว่า 10 ปี
โรคไตเรื้อรังแบ่งเป็นหลายระยะ
ในระยะแรก จะชะลอการเสื่อมของไต โดยควบคุมโรคประจำตัวคนไข้ เช่นความคุมเบาหวาน คุมความดันโลหิต ลดอาหารเค็ม หลีกเลี่ยงยาที่มีผลต่อ โดยเฉพาะยากลุ่มแก้ปวด NSAIDs ยาสมุนไพร ดังนั้นทุกครั้ง ต้องแจ้งให้คุณหมอทราบว่าเป็นโรคไต
ในระยะหลัก ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจะมีอาการต่างๆ เช่น อาการซีด แพทย์อาจจะมีการให้ยาเพื่อประคองอาการในช่วงแรก หากอาการเป็นหนักขึ้นจะต้องเข้าสู่การเตรียมตัวบำบัดทดแทนไต โดยการบำบัดทดแทนไตในปัจจุบันมี 4 ประเภทได้แก่
การล้างไตทางช่องท้อง ใช้ผนังหน้าท้องในการขจัดของเสีย และน้ำส่วนเกิน
ข้อดี เป็นวิธีการรักษาที่ยืดหยุ่น ปรับระยะเวลาล้างไตให้เหมาะกับการใช้ชีวิตได้ สามารถเดินทางได้โดยพกน้ำยาล้างไตไปด้วยได้ ส่วนผู้ป่วยที่ล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติ ในช่วงเวลากลางวัน ผู้ป่วยสามารถทำงาน หรือใช้ชีวิตได้ตามปกติ เนื่องจากเครื่องจะทำงานเฉพาะช่วงนอนเท่านั้น
ข้อจำกัด ผู้ป่วยจะมีน้ำยาในช่องท้อง ที่อาจจะรู้สึกอืดอัดได้ในช่วงแรก แต่แพทย์จะค่อยๆปรับแผนการรักษาให้เหมาะกับผู้ป่วย นอกจากนี้น้ำยาล้างไตทำจากน้ำยากลูโคส เพราะฉะนั้นคนไข้อาจจะมีน้ำตาลสูงได้ สำหรับผู้ป่วยที่การล้างไตทางช่องด้วยเครื่องอัตโนมัติ ตัวเครื่องอาจจะรบกวนการนอนได้
ปัจจุบันการล้างไตทางช่องท้องพบการติดเชื้อน้อยมาก โดยหากผู้ป่วยที่ต้องทำการล้างไตทางช่องจะมีการอบรมกับทางพยาบาลก่อนรับการรักษา และหากปฏิบัติตามที่อบรมก็จะลดโอกาสการติดเชื้อ นอกจากนี้การติดเชื้อขึ้นกับโรคประจำตัวของผู้ป่วยได้ด้วย แต่หากผู้ป่วยปฏิบัติตามขั้นตอนได้ถูกต้องก็จะลดโอกาสติดเชื้อ
ผู้ป่วยที่ทำการล้างไตทางช่องท้อง และฟอกเลือดยังจำเป็นที่จะต้องจำกัดอาหาร แต่สำหรับการล้างไตทางช่องท้องจะสามารถกำจัดโพแทสเซียมได้ดีกว่า จึงอาจช่วยให้ผู้ล้างไตทางช่องท้องสามารถรับประทานอาหารได้หลากหลายกว่า แต่ทั้งนี้ต้องขึ้นกับผลเลือดของผู้ป่วยแต่ละรายด้วย
ปัจจุบันการล้างไตทางช่องท้องมี 2 วิธี
อย่างไรก็ตามต้องพิจารณาการรักษาให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย และปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาท), สิทธิราชการ หรือสิทธิประกันสังคม สามารถเลือกรับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้องได้ทั้ง 2 วิธี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
เป็นไตเสื่อมระยะที่สาม ควรควบคุมโรคประจำตัวให้ดี และติดตามค่าการทำงานของไตสม่ำเสมอ
ในโรคไตระยะเริ่มต้นยังไม่มีการจำกัดน้ำ แนะนำให้ดื่มน้ำปกติคือ 2 ลิตร
ใช่ ไตสามารถ กำจัดทั้งโพแทสเซียม ฟอสฟอรัส
หากเริ่มล้างไตในขณะที่ยังมีการทำงานของไตในร่างกายอยู่ อาจจะไม่จำเป็นต้องล้างไตทุกวัน แต่เมื่อใดก็ตามหากไตในร่างกายทำงานลดลงก็มีความจำเป็นที่ต้องล้างไตทุกวัน เนื่องจากการล้างไตทางช่องท้องจะเป็นวิธีการที่ค่อยจัดของเสีย จึงต้องอาศัยความถี่ในการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย
ทุกๆสิทธิ สามารถใช้เครื่องล้างไตทางช่องท้องได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
คนสูงอายุสามารถล้างไตทางหน้าท้องได้ และเป็นวิธีที่เหมาะกับผู้สูงอายุเนื่องจากมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความดันน้อยกว่าการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ดังนั้นผู้ป่วยสูงอายุ เหมาะกับการล้างไตทางช่องท้อง แต่ถึงอย่างไรก็ดีต้องพิจารณาก่อนว่าผู้ป่วยมีข้อห้ามใดๆที่ไม่สามารถล้างไตทางช่องหรือไม่ เช่น มีผนังหน้าท้องที่ไม่เหมาะกับการรักษา หรือมีภาวะไส้เลื่อนที่ยังไม่รับการรักษา
วิธีการรักษานี้เป็นวิธีที่ยืดหยุ่น ผู้ป่วยยังสามารถเดินทางไปเที่ยวต่างจังหวัดหรือต่างประเทศได้ตามปกติ โดยผู้ป่วยสามารถพกน้ำยาล้างไตไปล้างไตได้ด้วย
เนื่องจากโรคไตวายเรื้อรัง ต่างกับโรคไตวายเฉียบพลัน สำหรับโรคไตวายเฉียบพลันหากแก้ไขปัญหาได้ ค่าไตก็จะสามารถกลับมาเป็นค่าปกติได้ แต่โรคไตวายเรื้อรังเป้าหมายในการรักษาคือการชะลอการเสื่อมลงของไตให้ได้มากที่สุด เพื่อลดการเกิดอาการต่างๆ ที่จะเกิดตามมา
อัตราการกรองไต เหลือประมาณ 7 คาดว่าคุณหมอผู้ดูแลกำลังอยู่ในช่วงเตรียมตัวสำหรับบำบัดทดแทนไต ดังนั้นอาจจะต้องควบคุมน้ำ อาหารเค็มให้ดี
หากไม่มีอาการแสดงว่าการฟอกไตมีประสิทธิภาพ หากได้รับการปลูกถ่ายไตเท่านั้น ถึงหยุดฟอกไตได้ หากหยุดรับการักษา ณ ตอนนี้จะเกิดอาการโรคไตอื่นๆ จะเกิดตามมา
หากเดิมค่า GFR เป็นปกติ แล้วลดลงไปเหลือ 20 ในเวลาสั้นๆ ต้องหาสาเหตุใดที่ทำให้เกิดไตวายเฉียบพลัน ซึ่งอาจจะเกิดจากการรับประทานยา หรือสาเหตุอื่นๆ ก็ได้ แต่หากเดิมมี GFR อยู่ที่ 20 คงที่มานานๆแสดงว่าเป็นโรคไตเรื้อรัง หรือไตเสื่อม สำหรับยา หากเป็นยาเบาหวาน ยาความดัน ไม่ควรหยุดรับประทาน เพราะยาทั้ง 2 กลุ่มมีส่วนช่วยชะลอการเสื่อมของไต
การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมช่วยทำงานแทนไตได้ประมาณ 10-20% ซึ่งหากค่าไตเพิ่มขึ้นอาจจะเกิดจากผลของการฟอกเลือด ไม่ได้หมายถึงไตในร่างกายกลับมาทำงานได้ดีขึ้น
เนื่องจากไตหยุดงาน จึงไม่มีปัสสาวะออกมา
คาดว่าการรับประทานยาเพนนิโซโลน คือผู้ป่วยเป็นโรคไตอักเสบ ซึ่งอาการบวมน่าจะเกิดจากไตอักเสบ ซึ่งยาเพนนิโซโลนเป็นยาที่ใช้รักษาไตอักเสบ ดังนั้นควรรับประทานยาเพนนิโซโลนตามแพทย์สั่ง
หากอัตราการกรองไตไม่ได้ต่ำมาก อาจจะแค่ติดตามอาการ แต่หากผู้ป่วยเริ่มมีอาการบวมหรือมีค่าการทำงานของไตลดลง หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียน พบภาวะโพแทสเซียมสูง ภาวะเลือดเป็นกรด ก็ต้องเริ่มทำการบำบัดทดแทนไต แต่จะรักษาด้วยวิธีล้างไตหรือไม่ต้องพิจารณาโรคประจำตัวร่วมด้วยในเลือกวิธีการรักษา
ปกติแล้วค่า BUN จะค่อนข้างคงที่ โอกาสเพิ่มขึ้นจะน้อย ส่วนค่า Creatinine เราควรพยายามชะลอการเสื่อมของไตให้มากที่สุด โดยปฎิบัติคำแนะนำของแพทย์
แนะนำให้ปรึษาทางโรงพยาบาลที่รับการรักษา เพื่อประเมินคิวรอเข้ารับการปลูกถ่ายไต
มักเกิดในช่วงแรกของการฟอกเลือดเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงระดับของเสียในร่างกายอย่างรวดเร็ว จึงเกิดอาการเหล่านี้ได้หลังฟอกเลือด โดยอาการจะค่อยๆดีขึ้นในการฟอกเลือดครั้งต่อๆไป แต่หากอาการเหล่านี้เกิดหลังจากฟอกเลือดไปสักระยะและปัสสาวะเราลดลง อาจจะแสดงให้เห็นว่าการฟอกเลือดแค่ 2 ครั้งต่อสัปดาห์ อาจจะไม่เพียงพอ
ไตเสื่อมระยะแรกๆ อยากให้จำกัดอาหารเค็ม โดยเฉพาะอาหารแปรรูป
ไตเสื่อมระยะหลังๆ ผู้ป่วยอาจจะได้รับคำแนะนำอาหารบางประเภทตามผลเลือดของผู้ป่วย เช่น หากผู้ป่วยฟอสฟอรัสสูง จะถูกให้จำกัดอาหารกระป๋อง นม หรือน้ำอัดลม
หากไตเสื่อมระยะหลังไปกว่านี้อีก ผู้ป่วยจะเริ่มมีโพแทสเซียมสูง ก็จะต้องจำกัดผลไม้บางประเภท เช่น ทุเรีย กล้วยหอม ขนุน ส้ม รวมถึง ผลไม้อบแห้ง และน้ำผลไม้
หากผู้ป่วยมีอาการบวมก็จะต้องจำกัดน้ำร่วมด้วย
ควรค่าไตปกติที่ไม่ต่ำกว่า 60 แต่ต้องดูว่ามีโรคประจำตัวใดๆด้วยหรือไม่
จริงๆการฟอกไตอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ถือว่าเป็นความถี่ที่น้อยแล้ว คาดว่าไม่น่าจะสามารถลดความถี่ได้ แต่หากปริมาณปัสสาวะของผู้ป่วยลดลง อาจจะต้องเพิ่มการฟอกเลือดเป็นอาทิตย์ละ 3 ครั้ง
น้ำหนักแห้ง คือน้ำหนักหลังการฟอกเลือด ซึ่งปกติหลังฟอกเลือดทางพยาบาลจะให้ผู้ป่วยชั่งน้ำหนักตัว นั้นคือน้ำหนักแห้ง
ไตเสื่อมระยะแรกๆ อยากให้จำกัดอาหารเค็ม โดยเฉพาะอาหารแปรรูป
ไตเสื่อมระยะหลังๆ ผู้ป่วยอาจจะได้รับคำแนะนำอาหารบางประเภทตามผลเลือดของผู้ป่วย เช่น หากผู้ป่วยฟอสฟอรัสสูง จะถูกให้จำกัดอาหารกระป๋อง นม หรือน้ำอัดลม
หากไตเสื่อมระยะหลังไปกว่านี้อีก ผู้ป่วยจะเริ่มมีโพแทสเซียมสูง ก็จะต้องจำกัดผลไม้บางประเภท เช่น ทุเรีย กล้วยหอม ขนุน ส้ม รวมถึง ผลไม้อบแห้ง และน้ำผลไม้
หากผู้ป่วยมีอาการบวมก็จะต้องจำกัดน้ำร่วมด้วย
ฟอสฟอรัสสูง จะส่งผลให้พาราไธรอยด์ฮอร์โมนสูง จะมีผลต่อความผิดปกติของกระดูก หรือมีหินปูนสะสมตามหลอดเลือด
โพสแทสเซียมสูง จะมีผลต่อการเต้นของหัวใจ มีผลให้หัวใจเต้นผิดจังหวะได้