โรคไตเรื้อรัง (CKD)
ทำความเข้าใจโรคไตเรื้อรัง (CKD) ช่วยให้คุณตัดสินใจได้ถูกต้องระหว่างเส้นทางการรักษาโรค
โรคไตเรื้อรัง (CKD) คืออะไร?
เมื่อเป็นโรคไตเรื้อรัง (CKD) ไตจะค่อยๆ สูญเสียความสามารถในการกำจัดของเสียและของเหลวออกจากเลือด ส่งผลให้เกิดการสะสมของเสียและของเหลวที่เป็นอันตรายทำให้รู้สึกไม่สบาย แม้ว่าโรคไตเรื้อรังจะรักษาไม่หาย แต่การรักษาจะช่วยชะลอการลุกลาม ควบคุมอาการ และช่วยให้มีชีวิตอยู่ได้
โรคไตเรื้อรังส่งผลกระทบต่อไตทั้งสองข้างในเวลาเดียวกัน ร่างกายมีไต 2 ข้างเพื่อช่วยกรองของเสีย ไตข้างหนึ่งไม่ใช่ “ตัวสำรอง” ของไตอีกข้างหนึ่ง ไตทั้งสองข้างทำงานพร้อมกันเพื่อกรองของเสียออกจากร่างกาย เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตเรื้อรังหมายความว่าไตทั้งสองข้างได้รับผลกระทบและไม่สามารถกรองของเสียและของเหลวออกจากร่างกายได้
การวินิจฉัยโรคไตเรื้อรัง (CKD) ทำอย่างไร?
คุณอาจสังเกตไม่เห็นอาการจนกว่าโรคไตเรื้อรังจะลุกลามไปมาก นั่นคือสาเหตุที่บางครั้งโรคไตถูกเรียกว่าภาวะ "เงียบ"1 โดยทั่วไปอาการมักไม่เฉพาะเจาะจงและอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เนื่องจากไตสามารถทำงานชดเชยการทำงานที่ลดลงได้ อาจไม่เห็นอาการของโรคไตเรื้อรังจนกว่าโรคจะลุกลามถึงระดับรุนแรงที่ไม่สามารถแก้ไขได้
หากคุณมีโรคประจำตัว (เช่น เบาหวานและความดันโลหิตสูง) อาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตเรื้อรัง แพทย์มักจะใช้การวัดความดันโลหิต ตรวจปัสสาวะและเลือดเพื่อดูการทำงานของไตเป็นประจำ
ระยะของโรคไตเรื้อรัง (CKD)
โรคไตเรื้อรังมี 5 ระยะ ขึ้นอยู่กับว่าความสามารถในการทำงานของไต อัตราการกรองไต (GFR) บ่งบอกว่าไตทำงานได้ดีเพียงใด
อัตราการกรองของไต ได้จากการคำนวณจากผลรวมของบางค่า ซึ่งรวมถึงอายุ เพศ เชื้อชาติ รวมทั้งระดับครีเอตินิน (ของเสียชนิดหนึ่ง) ในเลือดข ถ้าค่าอัตราการกรองของไตของคุณต่ำ แสดงว่าไตกำลังทำงานไม่ดีอย่างที่ควรเป็น
ในระยะแรก (ระยะที่ 1-3) ไตยังคงกรองของเสียออกจากเลือดได้ ในระยะหลัง (ระยะที่ 4-5) ไตต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อกรองเลือดและในที่สุดไตอาจจะหยุดทำงานเลย2
สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง (CKD) คืออะไร?
มีปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุหลายอย่างที่ทำให้เป็นโรคไตเรื้อรัง (CKD) การที่รู้ถึงสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้จะทำให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไตเรื้อรัง
โรคไตเรื้อรัง (CKD) รักษาอย่างไร?
การรักษาโรคไตเรื้อรัง (CKD) มีหลายวิธี คุณควรเลือกวิธีที่เหมาะสมกับคุณที่สุดด้วยตนเอง
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย (ESRD) ส่วนใหญ่ได้รับการรักษาด้วยการฟอกไต เนื่องจากไตไม่สามารถกรองเลือดได้พอ การปลูกถ่ายไตและการดูแลแบบประคับประคองก็เป็นอีกทางเลือกในการรักษา
วิธีการรักษาแต่ละแบบมีประโยชน์แตกต่างกัน ควรเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อพูดคุยกับแพทย์เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุดกับความต้องการของผู้ป่วยแต่ละราย ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการรักษาเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรึกษากับแพทย์เพื่อเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดสำหรับตนเอง